เจิ้งเหอ (ซำปอกง) ประเทศไทย



คนไทยรู้จัก “เจิ้งเหอ” เป็นอย่างดีในนามของ “เจ้าพ่อซำปอกง” แห่งวัดซำปอกง หรือชื่อเป็นทางการคือ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ จ. พระนครศรีอยุธยา มีตำนานเล่าขานกันว่า การเซ่นไหว้ซำปอกง ณ วัดกัลญาณมิตรของชาวจีนนั้นเกิดจากความเข้าผิด ทั้งนี้เกิดจากชาวจีนกลุ่มหนึ่งได้ไปนมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลญาณมิตร และบังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้เขียนหนังสือไว้ที่หน้าวิหารว่า “ซำปอฮุดกง” ซึ่งแปลเป็นไทยว่า พระเจ้า 3 องค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกกง อ่านคำว่า “ซำปอฮุดกง” เป็น “ซำปอกง” จึงเข้าใจไปว่าเป็นสถานที่สำหรับบูชาเทพเจ้าซำปอกง และได้เล่าขานสืบต่อกันมาผู้คนจึงพากันมาเซ่นไหว้เทพเจ้าซำปอกงเรื่อยมา ด้วยเหตุนี้จึงมีนักเขียนไทยบางคนต่างก็คิดว่าเจิ้งเหอได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธแล้ว
ครั้นมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธไตรรัตนายก” โดยมีตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีเครื่องบินลำหนึ่งพยายามจะมาทิ้งระเบิดลงที่สะพานปรีดีธำรง แต่ทำไม่สำเร็จระเบิดกลับไม่ทำงาน ซึ่งในคืนเกิดเหตุนั้นได้มีคนเล่าว่า เป็นคืนข้างขึ้นค่อนข้างมีแสงสว่างมาก เมื่อมีเครื่องบินทิ้งระเบิดลงมาได้เห็นว่ามีชายชราขี่ม้าขาวขึ้นไปปัดระเบิดไม่ให้ลงที่สะพาน เมื่อปัดระเบิดได้แล้วชายผู้นั้นก็หายเข้าไปในโบสถ์หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เมื่อรุ่งเช้าชาวบ้านต่างรีบเข้าไปดูในโบสถ์หลวงพ่อโตจึงพบว่าแขนขวาของท่านแตกร้าว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าหลวงพ่อโตได้แสดงปาฏิหาริย์ช่วยชาวกรุงศรีอยุธยาให้รอดปลอดภัยจากการโดนระเบิด
ชาวไทยรู้จักเจิ้งเหอในนามของเทพเจ้าซำปอกงจากตำนานที่เล่าขานกันมาช้านาน จนกลายมาเป็นซำปอกง ซึ่งคนไทยจะรู้จักเทพเจ้าซำปอกงในนามของ “หลวงพ่อโต” อันเป็นเคารพสักการะทั้งชาวไทยและชาวจีน โดยในประเทศไทยจะมีซำปอกงองค์ใหญ่ให้ไปกราบสักการะบูชาอยู่เพียง 3 วัดดังนี้
1.วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2.วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
3.วัดอุภัยภาติการม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้คนส่วนใหญ่ที่เดินทางไปสักการะบูชาเทพเจ้าซำปอกงนอกจากเพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลแล้ว ยังนิยมไปกราบไหว้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในการค้าขาย และให้มีโชคลาภประสบความสุขความโชคดีในการเดินทางด้วย

คาถาบูชาพระพุทธไตรรัตนายก (หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง
(ตั้งนะโม 3 จบ)
อินิมา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
ทุติยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
ตะตะยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัน อะภิปูชยามิ