การผูกดวงด้วยเลข 7 ตัว
วงการโหราศาสตร์ของไทยมีมากแค่ไหน ความเจริญของวงการก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น เรียกได้ว่าวงการโหราศาสตร์ของไทยได้มีมากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายร้อยเท่า ทำให้บรรดาโหราศาสตร์ทั้งหลายทุกชนชั้นสมาคมได้มารวมคิดค้นเริ่มต้นด้วยการขยายดวงดาวทั้ง 7 ดวงออกไปอีก โดยเพิ่มดวงดาวมาอีก 2 ดวง คือ ดาวราหู และ ดาวพระเกตุ ซึ่งจะนับลำดับตามหมายเลขที่เรียงกัน ก็จะลงตัวเป็นส่วนที่เหมาะสมกับเรือนร่างของมนุษย์ ที่ได้ถือเอาส่วนหัวเป็นจุดเริ่มต้น มีอยู่ 3 จุด ส่วนหน้าอกเป็นส่วนกลาง มีอยู่ 3 จุด และส่วนท้องน้อยเป็นส่วนสุดท้าย มีอยู่ 3 จุด ตามตัวเลขที่ได้วางเรียงกันลงมาตามลำดับในส่วนช่องกลางรวมกันทั้ง 3 ช่อง เป็นจำนวนหมายเลขทั้งหมด 9 ตัวพอดี ก็จะเหมาะกับตำแหน่งของดวงดาวทั้ง 9 ดวงพอดี ดังหมายเลขในภาพตัวอย่างคือ 6-4-1 เป็นช่วงหัว 1-6-3 เป็นช่วงหน้าอก 4-2-6 เป็นช่วงท้องน้อย
และตามหลักวิชาการโหราศาสตร์ของไทยได้วางกำหนดกฎเกณฑ์ในการผูกดวงชะตาไว้ ก็จะวางมาตรการกำหนดเอาแถวของวงจรชะตาชีวิตไว้อีก 2 แถว คือ แถวทางด้านขวา และแถวทางด้านซ้าย ซึ่งก็จะได้แบ่งแยกออกไปตามคำอธิบายเป็นขั้นตอน จะเห็นว่าตามภาพตัวอย่างการสร้างเรือนร่างด้วยเลข 7 ตัวที่แสดงให้เห็นไปแล้วนั้น จะแบ่งแถวด้านซ้ายมือออกได้เป็น 6 หมายเลข คือ 7-5-2-3-1-5 ซึ่งจะเริ่มนับตามดาวพระเคราะห์ทั้ง 7 ดวงเป็นจุดเริ่มต้นและต่อด้วยดาวราหูและดาวพระเกตุ เรียงกันตามลำดับหมายเลขดังต่อไปนี้ คือ 1.ดาวอาทิตย์ 2.ดาวจันทร์ 3.ดาวอังคาร 4.ดาวพุธ 5.ดาวพฤหัสบดี 6.ดาวศุกร์ 7.ดาวเสาร์ 8.ดาวราหู 9.ดาวพระเกตุ
ส่วนแถวทางด้านขวามือ มีตัวเลขที่เรียงกันลงมาคือ 2-7-4-5-3-7 จะเริ่มนับตามดาวพระเคราะห์ ถือตามหลักของดาวอาทิตย์เป็นเกณฑ์ในระหว่างเดือนเมษายนกับตุลาคมเป็นแกนนำในระหว่างของปี ถือเอาว่าเป็นเดือนเดี่ยว ส่วนที่เหลือนอกจากนั้นก็จะเป็นเดือนคู่ โดยที่จะได้แบ่งแยกออกไปจากเดือนเมษายน ไปจนกระทั่งถึงเดือนตุลาคม ในช่วงหนึ่งจะมีอยู่ 6 เดือน และจากเดือนตุลาคมต่อไปถึงเดือนเมษายนอีกช่วงหนึ่ง ในรอบหนึ่งก็จะมีเป็น 2 ช่วงเท่านั้น
ในระยะเวลาของทั้ง 2 ช่วงนี้ ตามโหราศาสตร์ไทยจะเรียกกันว่า เดือนสว่าง กับ ช่วงเดือนมืด คือ จากเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนตุลาคม ก็จะมีชื่อเรียกว่า เดือนสว่าง และ จากเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนเมษายน ก็จะมีชื่อเรียกว่า ช่วงเดือนมืด ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษคือ ช่วงเดือนสว่างจะเรียกว่า โพสิทีฟ ส่วนช่วงเดือนมืดก็จะเรียกว่า เนกาทีฟ
จงดูตามแผนที่เพื่อประกอบการเข้าใจ ดังต่อไปนี้