พระบูชาประจำวันพฤหัสบดี
ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีจะมีพฤหัสบดีเทวาเป็นเทวดาประจำกาย ซึ่งทางโหราศาสตร์นั้นจะถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันที่ไม่ค่อยดีนักผู้ที่เกิดในวันนี้มักจะถูกรังควานจากคุณไสย เนื่องจากเป็นคนจิตอ่อนทำให้ไม่สามารถทนต่ออำนาจของสิ่งอัปมงคลทั้งหลายได้ เมื่อมีภูตผีมาขอส่วนบุญก็จะได้รับสิ่งอัปมงคลจากสิ่งเหล่านี้ติดตัวมาเสมอ ทำให้ดวงชะตาที่ไม่ค่อยดีอยู่แล้วยิ่งแย่ลงไปอีก ผู้ที่เกิดในวันพฤหัสบดีส่วนใหญ่จะมีปัญหาเดียวกันคือ มักจะเจ็บปวดตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ โบราณได้แนะนำว่าให้บูชา พระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี เพื่อช่วยเสริมให้มีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น
พระพุทธรูปปางสมาธิมีลักษณะประทับนั่งในท่าขัดสมาธิ เท้าขวาซ้อนอยู่เหนือเท้าซ้าย และมือขวาก็ซ้อนอยู่บนมือซ้ายเช่นกัน ดวงพระเนตรทั้งสองเปิดออกเล็กน้อย พระพักตร์แสดงออกถึงความสงบร่มเย็นและมีเมตตากรุณา
พระพุทธคุณที่เกิดจากการบูชาจะเป็นด้านมหาอุด ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ และด้านเมตตามหานิยมทำให้มีโชคลาภเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนออกจากบ้านให้ท่องคาถาพระนารายณ์ตรึงสามภพ ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ เต็ม ๆ เสียงให้หนักแน่น โดยเน้นเสียงตรงคำว่า ภะ ท่องทั้งหมด 19 จบ พุทธคุณขององค์พระจะปกป้องคุ้มครองให้แคล้วคลอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งหมดทั้งปวง
โบราณได้แนะนำว่าในยามที่บูชาพระพุทธรูปปางสมาธิให้กำกับด้วย รัตนะสูตร ซึ่งเป็นพุทธมนต์ที่มีคุณด้านปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ มีพุทธานุภาพด้านการปกป้องเป็นหลัก ช่วยคุ้มครองให้ผู้ที่ท่องแคล้วคลาดปลอดภัยจากคุณไสยที่เกิดจากฝีมือของอมนุษย์ อีกทั้งยังช่วยขับไล่สิ่งอัปมงคลและคุณไสยให้ออกจากที่อยู่อาศัย พุทธมนต์บทนี้มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยมีหลักฐานปรากฎอยู่ในพุทธชาดก เมื่อครั้งที่องค์ตถาคตเสด็จยังเมืองเวสาลีเพื่อช่วยขับไล่อมนุษย์ที่มารบกวนชาวเมืองให้ได้รับความเดือดร้อน องค์ตถาคตได้ผูกมนต์บทที่ชื่อว่า รัตนะสูตร นี้ให้พระอานนท์นำไปสวดเพื่อช่วยเหลือชาวเมือง ในขณะที่พระอานนท์ท่องสวดพุทธมนต์ก็ได้ประพรมน้ำไปทั่วบริเวณด้วย เมื่อน้ำได้ต้องกายอมนุษย์ตนใดก็ส่งเสียงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวด และหนีออกไปจากเมืองเวสาลีจนหมดสิ้น ด้วยเหตุนี้เองจึงได้ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาคือ เมื่อพระสงฆ์มีการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก็จะใช้มนต์บทนี้กำกับเพื่อความเป็นศิริมงคลด้วย ดังนั้นมนต์บทนี้จึงขาดไม่ได้ในยามที่ประกอบพิธีอันมงคลทุกครั้ง เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
บทรัตนสูตร (พุทธมนต์ว่าด้วยการขับไล่สิ่งอัปมงคล)
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสสะมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ตัสสะมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักกะยะมุณี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักกะยะมุณี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมา นันตะริ กัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิธัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เค ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุภพิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระ ปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
สะหาวะสสะ ทัสสะนะ สัมปะทายะ
ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะ ทิฏฐิ วิจิกิจ ฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะ ปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจะจนะ สุวัตถิ โหตุ
กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจสะตา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสัง วุตตา
อิทัมปี สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสสะมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัติถิ โหตุ
วะดร วะระรัญญู วะระโท วะราหะโร
อะนุตตะโร ธัมมะวะระรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัติถิ โหตุ
ขีณัง ปุรานัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะ จิตตายะติเก ภะวัสสะมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถา ยัมปะธีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ ปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสะมะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ ปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมินิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะ ปูซิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัติถิ โหตุ ฯ